Social Icons

Featured Posts

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กศน. สระแก้ว ส่งเสริมการเรียนรู้อาชีพเกษตรกรรม ผ่าน "ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบลเขาสามสิบ"

บันทึก จาก กศน.









จิรวรรณ โรจนพรทิพย์

กศน. สระแก้ว ส่งเสริมการเรียนรู้อาชีพเกษตรกรรม ผ่าน "ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบลเขาสามสิบ"

"ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน" นับเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีนโยบายจัดการศึกษาเพื่อให้นักเรียนมีอาชีพ มีรายได้ และมีงานทำ เพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศไทย ให้สามารถก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมอบหมายให้หน่วยงานและสถานศึกษาแต่ละแห่งศึกษาศักยภาพของตนเองในแต่ละพื้นที่ ได้แก่ ศักยภาพด้านทรัพยากรธรรมชาติ ศักยภาพด้านภูมิอากาศ ศักยภาพด้านภูมิประเทศ ศักยภาพด้านศิลปวัฒนธรรมประเพณี และศักยภาพด้านทรัพยากรมนุษย์ เพื่อจัดการศึกษาในระดับพื้นที่ (Area Based)

ขณะเดียวกัน มุ่งพัฒนา 5 กลุ่มอาชีพใหม่ ได้แก่ หลักสูตรกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและบริการ ความคิดสร้างสรรค์ และอาชีพเฉพาะทาง ให้สอดคล้องมีศักยภาพ และสามารถ "รู้เขา รู้เรา เท่าทัน เพื่อแข่งขันได้ในเวทีโลก" ครอบคลุม 5 ภูมิภาคหลักของโลก ประกอบด้วย ทวีปเอเชีย ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และแอฟริกา กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดภารกิจที่จะพัฒนายกระดับการจัดการศึกษา เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ที่มั่งคั่งและมั่นคง เพื่อเป็นบุคคลที่มีวินัยเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม

กระทรวงศึกษาธิการคาดหวังว่า นโยบายดังกล่าวจะก่อให้เกิดการบูรณาการในการจัดการศึกษาทุกระดับตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ โดยให้องค์กรและหน่วยงานทุกภาคส่วนในระดับจังหวัด ทั้งภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการรายใหญ่ รายย่อย ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปพร้อมๆ กัน เน้นให้การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาคน พัฒนางาน และสร้างอาชีพ เพื่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดความเป็นเลิศทางด้านกลุ่มอาชีพหลัก

เพื่อตอบสนองนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงาน กศน. ได้ปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ โดยจัดให้มีศูนย์ฝึกอาชีพในชุมชน และใช้สถานศึกษา กศน. เป็นฐานการจัดกิจกรรมให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่บริการ จัดทำเวทีประชาคมในระดับจังหวัด เพื่อกำหนดกรอบอาชีพของจังหวัดและจัดทำเวทีประชาคมในระดับอำเภอ โดยการวิเคราะห์ศักยภาพหลัก 5 ด้าน นำข้อมูลความต้องการด้านอาชีพของทุกตำบลและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพิจารณาร่วมกับกรอบหลักสูตรการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำของจังหวัด เพื่อกำหนดเป็นกรอบหลักสูตรอาชีพของอำเภอ

ที่ผ่านมา สำนักงาน กศน. ได้พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับกลุ่มอาชีพใหม่ 5 กลุ่ม คือหลักสูตรกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและบริการ ความคิดสร้างสรรค์ และอาชีพเฉพาะทาง โดยการพัฒนาเนื้อหาสาระที่มีองค์ความรู้ครบวงจร ประกอบด้วย โครงสร้างของหลักสูตร 4 ตอน คือช่องทางการประกอบอาชีพ ทักษะการประกอบอาชีพ การบริหารจัดการและการจัดทำ โครงการประกอบอาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และมีความมั่นใจในการประกอบอาชีพ

สำนักงาน กศน. ได้จัดกระบวนการเรียนการสอน เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ในส่วนของการฝึกปฏิบัติเน้นการฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในด้านอาชีพ รวมทั้งการเรียนหรือศึกษาดูงานในสถานประกอบการจริง เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และมองเห็นช่องทางการประกอบอาชีพอย่างครบวงจร วิทยากรที่จัดการเรียนการสอน เป็นผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญ ในสายงานอาชีพนั้นๆ



"กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม"

หนึ่งในหลักสูตรยอดนิยม

เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่อยู่ในสังคมภาคการเกษตร เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีรายได้เพิ่มจากการประกอบอาชีพภาคการเกษตรในอนาคต ทางสำนักงาน กศน. ได้จัดหลักสูตรกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม จำนวนมากถึง 20 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการทำปุ๋ยชีวภาพ หลักสูตรการปลูกพืชผักเกษตรอินทรีย์ธรรมชาติ หลักสูตรการเพาะเห็ดนางฟ้า-นางรม หลักสูตรการเลี้ยงไก่พื้นเมือง หลักสูตรการเลี้ยงปลาดุกอุยในบ่อพลาสติก หลักสูตรการเลี้ยงปลาแรดในกระชังด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น หลักสูตรการขยายพันธุ์พืช หลักสูตรการเลี้ยงแพะเนื้อ หลักสูตรการผลิตน้ำตาลผงบริสุทธิ์จากอ้อย หลักสูตรการเพาะเลี้ยงไส้เดือนและทำปุ๋ยหมัก หลักสูตรการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม หลักสูตรการปลูกยางพารา หลักสูตรการเลี้ยงปลาช่อนแม่ลาด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น หลักสูตรการเลี้ยงหมูหลุม หลักสูตรการปลูกกล้วยไม้ตัดดอก หลักสูตรการขยายพันธุ์บอนสี หลักสูตรการปลูกและการแปรรูปกาแฟพันธุ์อาราบิก้า หลักสูตรการปลูกข้าวโพดหวาน หลักสูตรการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย หลักสูตรการเลี้ยงโคเนื้อ



"ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบลเขาสามสิบ"

กศน. ตำบลเขาสามสิบ และ ศูนย์ กศน. อำเภอเขาฉกรรจ์ ร่วมกับมูลนิธินโยบายสุขภาวะ อบต. ตำบลเขาสามสิบ ศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 61 จังหวัดสระแก้ว ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดสระแก้ว ได้ร่วมกันสนับสนุนการจัดตั้ง "ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบลเขาสามสิบ" ที่บ้านเลขที่ 429 หมู่ที่ 3 ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ของ จ.ส.อ. ไพทูล พ้นธาตุ

จ.ส.อ. ไพทูล เจ้าของที่ดินแห่งนี้ และเป็นประธานศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบลเขาสามสิบ ปัจจุบัน เป็นข้าราชการบำนาญ ที่สนใจทำการเกษตรผสมผสานและเกษตรอินทรีย์ชีวภาพอย่างจริงจัง สืบเนื่องจาก ช่วงที่ จ.ส.อ. ไพทูล รับราชการทหารอยู่นั้น เคยมีโอกาสได้ไปช่วยราชการที่หน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ ได้เรียนรู้ว่าการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสชี้แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรในทุกระดับ ให้ดำเนินไปในทางสายกลางนั้น สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคโลกาภิวัตน์ได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังช่วยสร้างรากฐานชุมชน เศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็ง นำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขที่ยั่งยืนได้

ต่อมา จ.ส.อ. ไพทูล ได้ย้ายครอบครัวมาอยู่บ้านคลองสามสิบ และได้รับที่ดินมรดกจากคุณพ่อ จำนวน 9 ไร่ 2 งาน จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ จ.ส.อ. ไพทูล สนใจก้าวเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรมอย่างเต็มตัว โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักในการทำอาชีพเกษตรกรรม หลังจากเดินหน้าสร้างงาน สร้างอาชีพใหม่ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ก็ทำให้ จ.ส.อ. ไพทูล ประสบความสำเร็จในอาชีพเกษตรกรรมตามที่ใฝ่ฝันไว้ เขามีเงินเหลือเก็บเพียงพอสำหรับซื้อที่ดินเพิ่มเติม ปัจจุบันมีพื้นที่ทำกินเพิ่มขึ้นเป็น 28 ไร่

ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบลเขาสามสิบ แบ่งการใช้ประโยชน์พื้นที่ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยแบ่งพื้นที่สำหรับปลูกข้าว 7 ไร่ ขุดบ่อเลี้ยงปลา เนื้อที่ 6 ไร่ ปลูกหวาย 6 ไร่ และปลูกพืชผักแบบผสมผสานอีก 10 ไร่ มีคอกเลี้ยงหมู คอกเลี้ยงเป็ด ฟาร์มเพาะเห็ด สวนไผ่ ส่วนพื้นที่ที่เหลืออีก 1 งาน ใช้ก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย

"ช่วงปี 2550 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ได้ยกระดับให้ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ ต่อมาเมื่อ ปี 2555 ทางศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเขาฉกรรจ์ ได้สนับสนุนให้สถานที่แห่งนี้เปลี่ยนฐานะเป็น "ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบลเขาสามสิบ" โดยทำพิธีเปิดศูนย์อย่างเป็นทางการ เมื่อ วันที่ 9 สิงหาคม 2555 จนถึงปัจจุบัน" จ.ส.อ. ไพทูล กล่าว

วัตถุประสงค์หลักของการดำเนินงาน ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ตำบลเขาสามสิบ คือเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ของท้องถิ่น เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นศูนย์ฝึกอบรมและจัดกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ เป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตรปลอดสาร พลังงานทดแทน และอื่นๆ เป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบในโครงการทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท รวมทั้งเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ข้าวท้องถิ่น และแปลงสาธิตขยายพันธุ์ข้าว ประมาณ 50 สายพันธุ์ ขณะเดียวกันยังเป็นศูนย์วิจัยและเพาะเมล็ดพันธุ์พืชผักพันธุ์แท้ เพื่อแจกจ่ายให้กับชาวบ้านในชุมชน ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน


การเปลี่ยนแปลงสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ มีผลทำให้เศรษฐกิจ สังคม วิถีของการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป คนส่วนใหญ่หันไปพึ่งกระแสตะวันตกที่มุ่งแสวงหาสิ่งอำนวยความสะดวกสบายในชีวิตเป็นหลัก แต่ศูนย์แห่งนี้ช่วยให้ผู้มาเข้ารับการฝึกอบรมในศูนย์แห่งนี้ได้ปรับแนวความคิดและพฤติกรรมให้สามารถดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จนสามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ ซึ่งจะเป็นการสร้างรากฐานชุมชน เศรษฐกิจ และสังคม ให้เข้มแข็ง นำไปสู่สังคมแห่งความสุขอย่างยั่งยืน

โรงเรียนกาสรกสิวิทย์

โรงเรียนกาสรกสิวิทย์





















ความเป็นมา

           สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานวโรกาสให้ นายสมจิตต์ และนางมณี อิ่มเอย น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินตำบลศาลาลำดวน อำเมืองเมือง จังหวัดสระแก้ว จำนวน 110-3-81 ไร่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ เพื่อให้เป็นถานที่ฝึกกระบือให้สามารถทำการเกษตร และเป็นแหล่งที่ให้ผู้ที่สนใจได้เรียนรู้วัฒนธรรมการเกษตรท้องถิ่น และภูมิปัญญาชาวบ้าน รวมทั้งให้เกษตรกรได้เรียนรู้การใช้ชีวิตแบบพอเพียง
           วันอังคารที่ 13 มกราคม 2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรความก้าวหน้าการดำเนินงานโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ ในครั้งนั้นได้พระราชทานหญ้าสดแก่กระบือทรงเลี้ยง ทอดพระเนครบ้านพักปราชญ์ท้องถิ่นและการก่อสร้างบ้านดินในขึ้นตอนต่างๆ ทรงฟังบรรยายแนวทางและแผนการดำเนินงานด้านต่างๆ ของโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ อาทิเช่น การฝึกกระบือผู้เรียนรู้ การอบรมเกษตรกร การทำแปลงฝึกการไถนา การปลูกข้าว ทรงเยี่ยมราษฎร และได้มีรับสั่งให้มูลนิธิชัยพัฒนาสร้างห้องปฏิบัติการทางวิทยายาศาสตร์ขึ้น เพื่อทำการวิจัยในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบือ และอาหารของกระบือ
         สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนารวบรมกระแสรับสั่งทั้งหมดมาดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนกาสรกสิวิทย์เสร็จเรียบร้อย และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ เมื่อวันอังคารที่ 10 มีนาคม 2552 ในการเสด็จครั้งนี้ได้ทอดพระเนครการฝึกกระบือไถนา คราด และตีลูกทุบ ซึ่งเป็นการเตรียมดินสำหรับปลูกข้าว ทรงฟังบรรยายเรื่องหลักสูตรการฝึกกระบือและการดูแลกระบือ ทอดพระเนตรห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ นิทรรศการแสดงเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตรแบบดั้งเดิม และทรงปล่อยปลาไทยลงในสระมะรุมล้อมรัก

วัตถุประสงค์
            สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดตั้งโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ขึ้น เพื่อเป็นโรงเรียนสำหรับฝึกกระบือให้สามารถไถนาและทำงานด้านการเกษตรกรรม และสอนผู้ที่ตเองการใช้กระบือทำการเกษตรให้สามารถทำงานร่วมกับกระบือได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูแลกระบือให้มีสุขภาพแข็งแรง นอกจากนี้จะเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องวิถีชีวิต ความเป็นอยู่แบบพื้นบ้านที่เรียบง่าย และการใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย

สัญญลักษณ์โรงเรียน
           สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าอาทิตยาทรกิตติคุณ ทรงออกแบบตราสัญลักษณ์ของโรงเรียนกาสรกสิวิทย์

 กิจกรรมที่ได้ดำเนินการในโรงเรียนกาสรกสิวิทย์

 1.       การกอบรมเกษตรกรและการฝึกกระบือผู้เรียนรู้
          โรงเรียนการสนกสิวิทย์มีปราชญ์ท้องถิ่น 6 คน เป็นหลักในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การทำการเกษตร ให้เกษตรกร เยาวชน และประชาชนที่สนใจการใช้กระบือทำการเกษตร หลักสูตรการฝึกกระบือจากธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราดำริใช้เวลาทั้งสิ้น 15 วัน และหลักสูตรการฝึกอบรมนักเรียนระดับประถมศึกษา 3 วัน หลักสูตรการฝึกกระบือของโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ จะฝึกกระบือให้เชื่องและสามารถไถนาได้อย่างชำนาญ และฝึกเกษตรกรให้คุ้นเคยกับการใช้ชีวิตร่วมกับกระบือ สามารถใช้อุปกรณ์ไถนาได้อย่างถูกต้อง ควบคุมกระบือให้อยู่ในคำสั่ง สามารถเลี้ยงและดูแลกระบือ มีความรู้ในการจัดการเรื่องหญ้าและอาหารเสริม นอกจากนี้จะเสริมความรู้ด้านการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ผสมผสาน และการใช้ชีวิตแบบพอเพียง

2.       นิทรรศการ

        เป็นนิทรรศการแสดงเครื่องมือการทำนามีโรงเรือนแสดงเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำนาที่ใช้มากันตั้งแต่ดั้งเดิม ซึ่งทำขึ้นตามภูมิปัญญาชาวบ้าน อุปกรณ์ทุกชิ้นที่แสดงจะนำไปใช้ในการทำการเกษตรในพื้นที่โรงเรียน หลักจากนำไปใช้แล้ว จะทำความสะอาดเก็บเข้าที่เดิม เพื่อจัดแสดงต่อไป นับเป็นนิทรรศการที่มีชีวิต คือ กจะมีการเคลื่อนไหวและนำไปใช้จริง โดยสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียไปตลอดเวลา

 3.       การวิจัย

         เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมรารีได้มีรับสั่งให้มูลนิธิชัยพัฒนาสร้างห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ขึ้นในโรงเรียนกาสรกสิวิทย์เพื่อทำการวิจัยในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบือ และอาหารของกระบือ ในเรื่องการวิจัยนี้ โรงเรียนกาสรกสิวิทย์จะได้ประสานกับสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อร่วมดำเนินการต่อไป

4.       แปลงนา

       โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ มีแปลงนาจำนวน 8 แปลง เป็นแปลงนาดำ 4 แปลงนาหว่าน 4 แปลง ปลูกข้าวในระยะเวลาห่างกัน 1 เดือน เพื่อให้ได้เห็นข้าวในระยะต่างๆ ในช่วงระยะแรกนี้ จะปลูกข้าวสลับกับพืชหลังนา และพืชบำรุงดิน เพื่อให้ดินในแปลงนามีความอุดมสมบูรณ์ เป็นการหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมี

5.       สระมะรุมล้อมรัก

     มูลนิธิชัยพัฒนาได้ขุดสระน้ำมีพื้นที่ประมาณ 12 ไร่ ในบริเวณด้านหน้าของโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงปล่อยปลาไทย 9 ชนิด จำนวน 905 ตัว ลงในสระมะรุมล้อมรักบริเวณโดยรอบสระได้ทำดินเป็นขั้นบันได ปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันดินพังทลาย และได้ปลูกต้นไม้หลายชนิด โดยเฉพาะต้นมะรุมและต้นรัก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ สระมะรุมล้อมรัก

 6.       ต้นไม้ที่ปลูกเพิ่มเติม

      ต้นไม้ที่ปลูกใหม่ในโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ จะเป็นต้นไม้ที่รับประทานได้ทั้งสิ้น ณวันที่ 10 มีนาคม 2552 ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงเรียนนั้น โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ได้ปลูกต้นไม้เพิ่มเติมไปแล้วทั้งสิ้น 50 ชนิด จำนวน 8,249 ต้น รวมทั้งต้นกระเบาจากวังสระปุทม ที่ได้ทรงปลูกเป็นสิริมงคลที่บริเวณหน้าสำนั้กงานของโรงเรียนด้วยไม้ที่ปลูกมีทั้งไม้ผล สมุนไพร และตจ้นไม้ที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น กระเบา มะรุม แค ขี้เหล็ก ชะอม ยอ มะดัน มะม่วง มะยม ชมพู่ ขนุน มะยงชิด มะปราง หว้า กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม อ้อย มะกอก กระวาน อบเชย ข่า ตะไคร้ ไผ่ เป็นต้น

 7.       บ้านดิน

         เป็นที่พักของผุ้เข้ารับการฝึกอบรม และวิทยากร และเป็นต้นแบบของที่อยู่อาศัยจริง เพื่อหาขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนและสภาพของการพักอาศัย เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยต้นแบบของโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ ซึ่งเป็นแบบที่ผู้เข้ารับการฝึกสามารถกลับไปปลูกสร้างเองดได้โดยใช้วัสดุภายใตนท้องถิ่นนั้นๆ

ความร่วมมือในโรงเรียนกาสรกสิวิทย์

           การดำเนินการจัดสร้างโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ จังหวัดสระแก้ว กรมปศุสัตว์ กรมการข้าว กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง ทางหลวงชนบท ทั้งยังได้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกันระหว่างโครงการพระราชดำริโดยได้นำราษฎรในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เข้ามาถ่ายทอดความรู้ระดับท้องถิ่นสู่ท้องถิ่น เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และภูมิปัญญาในระดับชาวบ้านด้วยกัน

มารู้จัก....จังหวัดสระแก้วกันเถอะ

มารู้จัก....จังหวัดสระแก้วกันเถอะ






จุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก  อ.อรัญประเทศ ประตูสู่อินโดจีนสู่ประเทศกัมพูชา

              ณ ดินแดนภาคตะวันออกของประเทศติดกับกัมพูชา เป็นที่ตั้งของจังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นจังหวัดที่ 74 ของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับการขยายตัวทางการค้า ศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง และการท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา  ด้วยทำเลที่เหมาะสมประกอบกับมีศักยภาพ โอกาส และการพัฒนา ทำให้จังหวัดสระแก้วเป็นจังหวัดแห่งอนาคตที่น่าจับตามอง
          ชื่อจังหวัด สระแก้วมีที่มาจากชื่อสระน้ำโบราณในเขตอำเภอเมืองสระแก้ว ซึ่งมีอยู่ 2 สระ ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ประมาณปี พ.ศ.2324 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งทรงเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นแม่ทัพยกไปตีประเทศกัมพูชา ได้แวะพักกองทัพที่บริเวณสระน้ำทั้งสองแห่งนี้และได้อาศัยน้ำจากสระใช้สอย และได้ขนานนามว่า สระแก้ว สระขวัญ”  ต่อมาคำว่า สระแก้วจึงใช้เป็นชื่อตำบลอำเภอ และชื่อจังหวัดในเวลาต่อมา  ซึ่งน้ำจากทั้งสองสระนี้ได้ถูกนำไปใช้ในการประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในโอกาสสำคัญหลายครั้ง


          สระแก้วมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานกว่า 4,000 ปี ตั้งแต่ยุคทวารวดี ดินแดนของจังหวัดสระแก้วในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดใหญ่ที่มีอารยธรรมและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง เห็นได้จากปราสาทโบราณที่มีอยู่มากมายทั่วทั้งจังหวัด ตั้งแต่ยุคหินใหม่-ยุคโลหะ มีการค้นพบวัตถุโบราณที่บ้านโคกมะกอก ต.เขาสามสิบ อ.เขาฉกรรจ์ ในยุคต่อมามีการค้นพบโบราณวัตถุที่อำเภออรัญประเทศและตาพระยา แสดงหลักฐานว่าสระแก้วเคยเป็นชุมชนสำคัญที่มีความรุ่งเรืองในอดีต


จุดชมวิว กม.25 อุทยานแห่งชาติปางสีดา อ.เมืองสระแก้วและอ.วัฒนานคร

         นอกจากนี้ ยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์  เป็นที่ตั้งของ  2  อุทยานฯ อุทยานแห่งชาติปางสีดา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในบรรดาผู้รักธรรมชาติและการท่องไพร  ปัจจุบันเป็นแหล่งดูผีเสื้อที่มีชื่อเสียงพบผีเสื้อกว่า 400 ชนิด จนได้ยอมรับว่าเป็น เมืองผีเสื้อของป่าตะวันออก”  นอกจากนี้ยังมีอุทยานแห่งชาติตาพระยา ที่มีเขตติดต่อระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งเป็นผืนป่าที่เชื่อมต่อกัน ทำให้เป็นเขตที่มีการเชื่อมโยงของสัตว์ป่าไปมาระหว่างประเทศ  นอกจากนี้ ยังมีป่ารอยต่อ 5 จังหวัด คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน  และประติมากรรมทางธรรมชาติอย่างละลุที่ธรรมชาติสร้างสรรค์มาเป็นเวลานานดูยิ่งใหญ่ สวยงาม   

          สระแก้วยังเป็นจังหวัดเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ทำนา ทำไร่  ทำสวน   มีผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ  ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าว ข้าวโพด ไม้ผลที่มีชื่อเสียงได้แก่ แคนตาลูป  ส่วนอำเภอคลองหาด มีการทำสวนผลไม้กันมาก ผลไม้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ ชมพู่เพชรคลองหาด ที่มีรสชาติหวาน กรอบ อร่อย  



ตลาดโรงเกลือ อำเภออรัญประเทศ


       ด้วยความเป็นจังหวัดชายแดนมีพรมแดนติดกับประเทศกัมพูชายาวถึง 165 กม. จังหวัดสระแก้วจึงมีตลาดการค้าชายแดน มีจุดผ่อนปรนจุดผ่านแดนถาวร ที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน  ที่รู้จักกันดี ได้แก่ ตลาดโรงเกลือ แหล่งจำหน่ายสินค้ามือสองที่ใหญ่ที่สุด และยังมีสินค้าอื่นๆ อีก เช่น สินค้าเลียนแบบ เครื่องจักสาน เครื่องทองเหลือง รองเท้า กระเป๋า อาหารสด อาหารแห้ง เป็นต้น   ไม่ไกลจากตลาดโรงเกลือเป็นจุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก ซึ่งเปรียบเสมือน ประตูสู่อินโดจีนเพราะเป็นช่องทางส่งออกและนำเข้าสินค้าไทย-กัมพูชาที่สะดวกที่สุด  ส่งผลให้มูลค่าการค้ารวมในแต่ละปีเป็นเงินกว่า 3 หมื่นล้านบาท  

          นอกจากนี้ ยังเป็นช่องทางท่องเที่ยวเดินทางไปยัง จ.เสียมราฐ ที่ตั้งของนครวัด 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ด้วยเส้นทางคมนาคมที่สะดวกสบาย ระยะทาง 150 กม. ใช้เวลาในการเดินทางเพียง 2 ชั่วโมง แล้วยังสามารถเดินทางต่อไปยังประเทศเวียดนามได้ ซึ่งนักท่องเที่ยวจึงนิยมเดินทางผ่านด่านนี้มากที่สุด ทำให้จังหวัดสระแก้วจึงมีศักยภาพเอื้อต่อการเป็นประตูสู่อินโดจีน ทั้งด้านการค้าชายแดนและการท่องเที่ยว





 
 
Blogger Templates